เมนู

อมตวรรคที่ 5



1. อมตสูตร *



ว่าด้วยจิตตั้งมั่นในสติปัฏฐาน


[818] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงมีจิต
ตั้งมั่นด้วยดีในสติปัฏฐาน 4 อยู่เถิด อย่ามีจิตไม่ตั้งมั่นอยู่เลย และอมตะจะ
พึงมีแก่เธอทั้งหลาย สติปัฏฐาน 4 เป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใน.
ธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา
อยู่ . . . ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ . . . ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่
มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสโนโลกเสีย เธอ
ทั้งหลาย จงมีจิตตั้งมั่นในสติปัฏฐาน 5 เหล่านี้อยู่เถิด อย่ามีจิตไม่ตั้งมั่นอยู่เลย
และอมตะจะพึงมีแก่เธอทั้งหลาย.
จบอมตสูตรที่ 1

2. สมุทยสูตร



ว่าด้วยการเกิดดับแห่งสติปัฏฐาน 4


[819] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงความเกิด
และความดับแห่งสติปัฏฐาน 4 เธอทั้งหลายจงฟัง ก็ความเกิดแห่งกายเป็น
* ไม่มีอรรถกถาแก้

อย่างไร ความเกิดแห่งกายย่อมมี เพราะความเกิดแห่งอาหาร ความดับ
แห่งกายย่อมมี เพราะความดับแห่งอาหาร ความเกิดแห่งเวทนาย่อมมี เพราะ
ความเกิดแห่งผัสสะ ความดับแห่งเวทนาย่อมมี เพราะความดับแห่งผัสสะ
ความเกิดแห่งจิตย่อมมี เพราะความเกิดแห่งนามรูป ความดับแห่งจิตย่อมมี
เพราะความดับแห่งนามรูป ความเกิดแห่งธรรมย่อมมี เพราะความเกิดแห่ง
มนสิการ ความดับแห่งธรรมย่อมมี เพราะความดับแห่งมนสิการ.
จบสมุทยสูตรที่ 2

อมตวรรควรรณนา



อรรถกถาสมุทยสูตร



อมตวรรคที่ 5 สมุทยสูตรที่ 2.

คำว่า ความเกิดแห่งกาย
เพราะการเกิดขึ้นแห่งอาหาร
หมายความว่า การเกิดขึ้นพร้อมแห่งกาย
ย่อมมีได้ เพราะการเกิดขึ้นพร้อมแห่งอาหาร. ในคำที่เหลือ ก็ทำนอง
เดียวกันนี้แหละ. ส่วนในคำว่า เพราะการเกิดขึ้นพร้อมแห่งมนสิการ
(ความใส่ใจ)
หมายความว่า การเกิดขึ้นพร้อมแห่งธรรมอันเป็นส่วน
ประกอบแห่งความตรัสรู้ ย่อมมีได้เพราะการเกิดขึ้นพร้อมแห่งการเอาใจใส่
อย่างมีเหตุผล และธรรมคือนิวรณ์ (เครื่องกีดกั้น) จะเกิดมีได้ก็เพราะการ
ไม่เอาใจใส่อย่างมีเหตุผลเกิดขึ้น. ในพระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัส
การตั้งสติไว้อย่างมั่นคงในอารมณ์ ด้วยประการฉะนี้.
จบอรรถกถาสมุทยสูตรที่ 2